
รายละเอียดโครงการ
เกี่ยวกับการเรียน
1. การกำหนดภาคการศึกษาเป็นอย่างไร
-
ภาคการศึกษาและระยะเวลาการศึกษาจนสำเร็จตามหลักสูตร จะใช้ตามปฏิทินการศึกษาของสถาบันการศึกษาที่มีความร่วมมือกับโครงการ
-
ตลอดระยะเวลาการศึกษา นักศึกษาจะต้องพักอาศัยในศูนย์การเรียนรู้ที่ทางโครงการกำหนดให้ โดยสามารถลากลับบ้านได้ตามระเบียบของโครงการ (สูงสุดไม่เกินปีละสองครั้ง และไม่เกิน 10 วันต่อปีรวมวันเดินทาง)
2. กำหนดการสำหรับการเรียน และภาคการศึกษาเป็นอย่างไร
-
กระบวนการเรียนรู้เชิงประจักษ์ (Empirical Learning) เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ด้วยการใช้กิจกรรมปฏิบัติ (Active Learning) และการโค้ช (Coaching) โดยนักศึกษาจะได้ใช้เวลาเรียนรู้ พัฒนาทักษะจากการปฏิบัติจริงประมาณ 80% และเรียนรู้พัฒนาโดยผ่านกระบวนการอื่นๆ 20% (เช่น การเยี่ยมชมดูงาน การทำเวิร์คช็อป การเรียนในห้องเรียน การสะท้อนการเรียนรู้ เป็นต้น)
-
กระบวนการเรียนการสอนแบบการใช้กิจกรรมปฏิบัติ (Active Learning) ประกอบไปด้วย
-
Critical Thinking
-
Problem-based learning
-
Case Study
-
Team-based Learning
-
-
นักศึกษาจะได้เรียนรู้ และพัฒนาทั้งในด้านการเกษตร และด้านอื่นๆ ภายใต้การแนะนำ แนะแนว และการให้คำปรึกษาโดย คณาจารย์จากสถาบัน
การศึกษาในความร่วมมือ และผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายธุรกิจในเครือข่ายของมูลนิธิฯ เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริง
ในอาชีพที่ถูกต้องเหมาะสม
3. ค่าใช้จ่ายในการเรียนเป็นเท่าไหร่
-
นักศึกษาไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน ค่าที่พัก และค่าอาหาร สำหรับค่าใช้จ่ายจำเป็นส่วนตัวจะได้รับเป็นวงเงิน 500 บาทต่อเดือนเพื่อใช้ชื้อของผ่านร้านค้าสหกรณ์ของโครงการ ตลอดระยะเวลาการเรียนจนสำเร็จการศึกษา โดยค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะได้รับการสำรองจ่ายจากเงินในกองทุนที่มูลนิธิฯ ได้เริ่มต้น เมื่อผลผลิตทางการเกษตรสร้างรายได้ เงินดังกล่าวจะถูกนำมาคืนมูลนิธิฯ เพื่อขยายทุนให้รุ่นน้อง และจะปันผลบางส่วนให้นักศึกษาเมื่อสำเร็จการศึกษา จำนวนปันผลขึ้นอยู่กับผลประกอบการและผลงานของนักศีกษาแต่ละคน
-
นักศึกษาและผู้ปกครองจะต้องทำสัญญารับทุนการศึกษานี้ หากนักศึกษาผู้รับทุน ยุติการศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
จะต้องคืนเงินให้แก่กองทุน ได้แก่
1.ค่าอุปกรณ์แรกเข้า(1,000 บาท)
2.การลงทะเบียนและค่าบำรุงการศึกษาที่สถาบันการศึกษาเรียกเก็บจากกองทุน
3.ค่าใช้จ่ายส่วนตัวที่นักศึกษาเบิกใช้จากสหกรณ์
เพื่อขยายทุนให้กับรุ่นน้อง และปันผลให้นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา (ถ้าเรียนจบตามหลักสูตร ไม่ต้องใช้เงินคืน)
-
ทางโครงการ ไม่อนุญาตให้นักศึกษากู้เงินเรียน และไม่อนุญาตให้นักศึกษาขอเงินจากผู้ปกครอง
4. ตัวอย่างตารางเรียนแต่ละวันเป็นอย่างไร
-
ตารางเรียนของแต่ละวันจะถูกกำหนดให้เหมาะสมกับการพัฒนา แผนการเรียนรู้ งานหรือสิ่งที่นักศึกษารับผิดชอบขณะนั้น
โดยในช่วงของการสร้างพื้นฐาน และการบ่มเพาะคุณลักษณะของผู้ประกอบการเกษตรแนวใหม่ ตารางการเรียนรู้และการทำกิจกรรมในแต่ละวันจะเริ่มเวลา 4:00 น. (เวลาตื่นนอน) และเริ่มทำกิจกรรมเสริมทักษะต่าง ๆ ตั้งแต่ 05:00-17:00 น. โดยประมาณ (รวมเวลารับประทานอาหาร เช้า กลางวัน เย็น และเวลาพัก) เวลา 19:00-20:00 น. จะเป็นการสะท้อนการเรียนรู้ หลังจากนั้นจึงเป็นเวลาส่วนตัวจนถึงเวลา 21:30 น. จึงเข้านอน
-
ในช่วงของการเรียนรู้ภายหลังจากผ่านการสร้างพื้นฐานและการบ่มเพาะ ตารางเวลาของนักศึกษาจะถูกกำหนดโดยกิจกรรมการเรียนรู้ ในแต่ละศูนย์ฯเป็นหลัก และมุ่งเน้นที่ผลสำเร็จของกิจกรรมที่รับผิดชอบ ตามแบบของผู้ประกอบการจริง
5. สถานที่เรียนคือที่ไหนบ้าง
-
ศูนย์บ่มเพาะและศูนย์การเรียนรู้ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกำแพงเพชร
-
ศูนย์บ่มเพาะและศูนย์การเรียนรู้ ไร่ปันสุข จ.สระบุรี
-
ศูนย์การเรียนรู้ ไร่ภูตะวันออแกนิคฟาร์ม จ.อำนาจเจริญ
-
ศูนย์การเรียนรู้ ไร่ยโสธรออแกนิค จ.ยโสธร
-
ศูนย์การเรียนรู้ สวนนันประภา จ.พัทลุง
-
คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จ.สงขลา
-
ไร่ PFP อำเภอหาดใหญ่ จ.สงขลา
-
นิคมสร้างตนเองจ.ลพบุรี และนิคมสร้างตนเองควนขนุน จ.พัทลุง
6. ตัวอย่างข้อตกลงร่วมกันระหว่างนักศึกษาและผู้ปกครอง กับ มูลนิธิ BCL ระหว่างที่เรียนเป็นอย่างไรบ้าง
-
นักศึกษาจะต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของสถาบันการศึกษา และของโครงการฯ หากฝ่าฝืนจะมีบทลงโทษขึ้นอยู่กับความผิด ตามกรณีหรือสถานการณ์
-
นักศึกษาและผู้ปกครองต้องรับทราบและยินยอมรับข้อตกลงการชำระเงินที่เป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของนักศึกษาระหว่างการเรียน คือ ค่าลงทะเบียน ค่าหน่วยกิต ค่าอุปกรณ์ และค่าใช้จ่ายส่วนตัว คืนให้กับมูลนิธิฯ ตามที่ใช้จริง เฉพาะในกรณีที่นักศึกษาลาออก หรือเรียนไม่ครบตามหลักสูตร โดยไม่มีเหตุอันสมควร (พิจารณาตามกรณี)
-
นักศึกษาจะต้องไม่กู้เงินจากแหล่งหรือสถาบันใด ๆ มาใช้เพื่อการศึกษา
-
ไม่มีข้อผูกมัดใด ๆ เมื่อนักศึกษาเรียนจบตามหลักสูตร
7. มีการปิดเทอม เหมือนหรือต่างกับการศึกษาในสถาบันการศึกษาทั่วไปอย่างไร
-
เนื่องจากการศึกษาในโครงการนี้ เป็นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง จึงต้องใช้เวลาการทำกิจกรรมการเกษตร เช่นเดียวกับผู้ประกอบการทางการเกษตร หรือเกษตรกร ที่ต้องดูแลพืชและสัตว์อย่างต่อเนื่อง โดยจะมีเวลาช่วงพักจากการทำงาน ตามลักษณะงาน และไม่มีปิดภาคเรียน
(ในทุกสัปดาห์จะมีวันพักผ่อน 1วัน และทุกวันจะมีช่วงเวลาพักผ่อน มีกิจกรรมนันทนาการ ตามแต่จะตกลงกัน)
-
นักศึกษาจะได้หมุนเวียน สลับกันลากลับภูมิลำเนา ดังรายละเอียดต่อไปนี้
-
ปีแรก : ลากลับบ้านได้ 1 ครั้งต่อปี ครั้งละไม่เกิน 4-5 วัน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการเดินทางในแต่ละพื้นที่ (นับวันพักอยู่บ้าน 2 คืน)
-
ปีที่ 2 ถึงปีที่ 4 : ลากลับบ้านได้ 2 ครั้งต่อปี ครั้งละไม่เกิน 4-5 วัน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการเดินทางในแต่ละพื้นที่ (พักอยู่บ้านได้ 2 คืน)
-