
คำถามที่พบบ่อย
การสมัครเรียน
1. เปิดรับสมัครนักศึกษาเพื่อศึกษาต่อระดับใดบ้าง
-
ระดับปริญญาตรี (โครงการความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่)
-
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส. โครงการความร่วมมือกับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุบลราชธานี)
-
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุบลราชธานี)
2. คุณสมบัติของผู้สมัครเป็นอย่างไร
-
ผู้สมัคร ระดับปริญญาตรี : เป็นผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (มัธยมศึกษาตอนปลาย) หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือประกาศนียบัตรอื่นที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า
-
ผู้สมัคร ระดับ ปวส. : เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือระดับชั้นมัธยมปลาย (ม. 6) หรือประกาศนียบัตรอื่นที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า
-
ผู้สมัคร ระดับ ปวช. : เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น(ม.3) หรือเทียบเท่า
3. มีช่องทางรับสมัครอย่างไรบ้าง
-
กรอกใบสมัครทาง Facebook ยุวชนคนเกษตร หรือ เว็บไซต์ของ ยุวชนคนเกษตร
-
กรอกใบสมัครส่งผ่านเครือข่าย มูลนิธิ BCL (Download ใบสมัครได้จากเว็บไซด์)
4. หากต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการสมัครเรียนเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ใด
-
ทางเว็บไซต์ยุวชนคนเกษตร หรือ Facebook ยุวชนคนเกษตร
เกี่ยวกับที่พัก การเดินทางและความเป็นอยู่
1. มูลนิธิ BCL จัดหาที่พักระหว่างเรียนให้นักศึกษาหรือไม่
-
นักศึกษาในโครงการทุกคน จะต้องพักอาศัยอยู่ในที่พัก ที่ทางโครงการฯจัดเตรียมให้
-
ในแต่ละศูนย์การเรียนรู้ จะมีการจัดที่พักพร้อมอุปกรณ์เครื่องนอน แยกส่วนระหว่างนักศึกษาชาย-หญิง โดยจะเป็นที่พักรวมไม่มีห้องพักส่วนตัว
-
นักศึกษาจะต้องรับผิดชอบดูแล เรื่องความสะอาดต่อของใช้ส่วนตัว (เช่น เสื้อผ้า เครื่องนอน บริเวณที่นอน) ด้วยตัวเอง และจะได้รับการมอบหมายให้ดูและพื้นที่ส่วนรวม (เช่น ห้องนอน ห้องนำ อาคารที่พัก เป็นต้น) สลับกันไป
2. ค่าใช้จ่ายที่พักเป็นเท่าไหร่
-
ทางมูลนิธิ BCLจัดเตรียมที่พักในแต่ละศูนย์บ่มเพาะการเรียนรู้ให้ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
3. สิ่งใดบ้างที่จะต้องนำติดตัวไป เพื่อเข้าศูนย์การเรียนรู้
-
เสื้อผ้า ชุดลำลอง 4 ชุด (ควรเป็นเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย, ไม่รัดรูป, ไม่บาง, ไม่ใช่เสื้อแขนกุดหรือกระโปรงสั้น) ชุดนอน 4 ชุด ชุดกีฬา 2 ชุด และชุดชั้นใน
-
เสื้อกันหนาว หรืออุปกรณ์กันหนาว
-
หมวกใช้ในการลงฟาร์ม
-
รองเท้าผ้าใบ + ถุงเท้า
-
รองเท้าแตะ
-
ผ้าเช็ดตัว, ผ้าเช็ดหน้า
-
ของใช้ส่วนตัว เช่น สบู่ แชมพู ยาสีฟัน ผ้าอนามัย ฯลฯ
-
สมุดบันทึกส่วนตัว, ปากกาหรือดินสอ
-
แม่กุญแจ พร้อมลูกกุญแจสำหรับล็อกตู้เก็บของส่วนตัว
-
ยาประจำตัวที่ต้องใช้
**** ห้าม นำสิ่งของมีค่า เครื่องประดับ ติดตัวมา
**** อื่นๆ นอกเหนือจากรายการข้างต้น ห้ามนำมา ยกเว้นจะได้รับอนุญาตจากผอ. หรือผู้ดูแลโครงการ
4. ค่าใช้จ่ายสำหรับของใช้ส่วนตัวระหว่างการศึกษาจะเป็นอย่างไร
-
ตั้งแต่เดือนที่ 3 เป็นต้นไป นักศึกษาสามารถเบิกเงินเบี้ยเลี้ยงเพื่อใช้จ่ายในสิ่งของจำเป็นส่วนตัว (บางศูนย์บ่มเพาะและศูนย์การเรียนรู้จะเป็นการให้วงเงินเพื่อเบิกของจากสหกรณ์) โดยเบิกจากมูลนิธิ BCL ตามจริง และไม่เกินจำนวนสูงสุดที่มูลนิธิฯ กำหนดไว้
ในแต่ละเดือนยอดการเบิกแต่ละครั้ง จะถูกรวบรวม และนำไปหักกับรายได้ผลตอบแทนสะสม จากผลผลิตทางการเกษตรที่นักศึกษาทำได้
5. สามารถเลือกสถานที่พักเองได้หรือไม่
-
เมื่อนักศึกษาเดินทางถึงศูนย์บ่มเพาะและการเรียนรู้ ครูพี่เลี้ยง หรือพี่Supervisor หรือรุ่นพี่ที่ได้รับมอบหมาย จะเป็นผู้กำหนด
และแนะนำสถานที่พัก ที่นอนให้กับนักศึกษา
-
โครงการฯ ไม่อนุญาตให้นักศึกษาพักในสถานที่อื่นที่ไม่ได้กำหนดโดยโครงการ และไม่อนุญาตให้นักศึกษาเดินทางไป-กลับ
6. เริ่มเรียนที่ไหน และจะเดินทางอย่างไร
-
นักศึกษาในโครงการทุกคน และทุกระดับการศึกษา จะเรียนที่ศูนย์บ่มเพาะและศูนย์การเรียนรู้ที่ทางมูลนิธิฯ กำหนด
-
นักศึกษาจะใช้เวลาที่ศูนย์บ่มเพาะฯ 3-4 เดือนโดยประมาณ จึงจะมีการย้ายศูนย์ ไปยังศูนย์การเรียนรู้อื่น ๆ ต่อไป โดยจะพิจารณาจาก
ความสามารถในการพัฒนา และการปรับตัวของนักศึกษา ความเหมาะสมของกิจกรรมการเกษตรตามฤดูกาล แผนการเรียนรู้และการพัฒนา
Hard Skill และ Soft Skill เป็นต้น
-
การเดินทางและค่าใช้จ่ายในการเดินทางครั้งแรก จากภูมิลำเนาของนักศึกษา มายังศูนย์บ่มเพาะและศูนย์การเรียนรู้ที่มูลนิธิ BCL กำหนด
พิจารณาตามเงื่อนไขและเหตุอันสมควร เช่น ความรับผิดชอบจากหน่วยงานฯ กรณีที่ทางโรงเรียนหรือหน่วยงานภาครัฐ เป็นผู้ดูแลประสานการส่งตัวนักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาหรือเจ้าหน้าที่ฯ เป็นผู้รับผิดชอบตามที่ตกลงกัน
หรือกรณีนักศึกษาและผู้ปกครอง สามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายการเดินทางครั้งแรกได้เอง
-
การเดินทางและค่าใช้จ่ายในการหมุนเวียน เพื่อไปเรียนรู้ทักษะในแต่ศูนย์ฯ จะรับผิดชอบโดยมูลนิธิ BCL และความร่วมมือกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
7. ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด19 และการป้องกันโรคตามข้อกำหนดของทางราชการ จะมีผลต่อการเดินทาง
อย่างไร และที่เรียนเป็นอย่างไรบ้าง
-
นักศึกษาที่เดินทางเข้าพำนักในศูนย์บ่มเพาะและศูนย์การเรียนรู้ จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ของแต่ละจังหวัด รวมทั้งการปฏิบัติตัว การคัดกรอง ของนักศึกษา สำหรับการเดินทางที่จะไปเรียนรู้ในแต่ละศูนย์การเรียนรู้ จะขึ้นอยู่กับ ข้อกำหนดของแต่ละจังหวัด ณ เวลาขณะนั้น
-
นักศึกษาห้ามเดินทางออกนอกศูนย์บ่มเพาะหรือศูนย์การเรียนรู้ หากไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ดูแลที่มีอำนาจสั่งการ โดยเด็ดขาด
8. อาหารการกินใครรับผิดชอบเรื่องการจัดหา และจัดทำ
-
นักศึกษาจะได้รับการมอบหมาย ให้มีการสลับกันทำหน้าที่รับผิดชอบเรื่องการวางแผนจัดซื้อวัตถุดิบ และการทำอาหารทานเองทั้ง 3 มื้อ
-
กรณีนักศึกษาที่มีข้อจำกัด หรือข้อยกเว้นในการบริโภคอาหารบางประเภท นักศึกษาจะต้องปรึกษาหารือร่วมกัน เพื่อวางแผนการจัดทำ การเตรียมอาหารในแต่ละมื้อ สามารถตอบสนองข้อยกเว้น หรือข้อจำกัดนั้น ๆ ได้
อื่นๆ
1. มูลนิธิ BCL มีความช่วยเหลือหลังเรียนจบอย่างไรบ้างหรือไม่
-
นักศึกษาที่เรียนจบตามหลักสูตร จะได้รับเงินปันผลเป็นส่วนแบ่งจากรายได้ของผลผลิตทางการเกษตร ที่จำหน่ายโดยหักต้นทุนการผลิตและส่วนแบ่งเพื่อเป็นกองทุนสนับสนุนการศึกษาของนักศึกษารุ่นต่อ ๆ ไปแล้ว ทั้งนี้เงินปันผลจะขึ้นอยู่กับ คุณภาพ ปริมาณของผลผลิต และผลงานของนักศึกษา
-
กรณีที่นักศึกษา อยากหาที่ทำงานด้านการเกษตรเมื่อเรียนจบ ทางมูลนิธิฯ สามารถหางานด้านการเกษตร หรือหาพื้นที่เพื่อทำการเกษตรให้นักศึกษาได้ฝึกการทำงาน หรือฝึกการประกอบการจริงได้
-
นักศึกษาที่ต้องการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ในโปรแกรมที่อยู่ในโครงการ จะได้รับการพิจารณาก่อนนักศึกษาที่สมัครมาภายหลัง จากสถานศึกษาภายนอกโครงการฯ
2. ควรเตรียมตัวอย่างไร? ก่อนไปเรียน
-
เนื่องจากการเรียนรู้ของโครงการฯ เน้นในเรื่องการรับผิดชอบตนเอง รู้จักการวางแผน และการใช้ทรัพยากรทุกอย่าง อย่างเห็นคุณค่า เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด นักศึกษาในโครงการ จึงควรที่จะฝึกการดูแลตนเอง ออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรง ความมีระเบียบ การทำงานบ้าน และการช่วยเหลือผู้ปกครองทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่สามารถทำได้ การใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ การทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม และค้นคว้าหาความรู้เบื้องต้นด้านการทำการเกษตร
-
คุณสมบัติ ที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการเรียนรู้ในโครงการฯ คือ ความมีมานะ อดทน ตั้งใจ มุ่งมั่นที่เรียนให้จบตามหลักสูตร เพื่อจะนำความรู้ที่ได้
ไปปฏิบัติได้จริง ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค และใฝ่รู้อย่างสม่ำเสมอ
3. นักศึกษาด้านการเกษตร ในโครงการของมูลนิธิ BCL มีมาแล้วกี่รุ่น
-
นักศึกษากลุ่ม บุกเบิก ในการใช้กระบวนการเรียนรู้แบบการใช้กิจกรรมปฏิบัติ (Active Learning) และการโค้ช (Coaching) ในปี 2562 จำนวน 8 คน
-
นักศึกษากลุ่มแรกของการดำเนินโครงการฯ ในปีการศึกษา 2563 (ระดับปวช.) จำนวน 20 คน
-
นักศึกษากลุ่มสองในปีการศึกษา 2564 (ระดับ ปวช. ปวส. และ ป.ตรี) จำนวน 41 คน